วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558


หน่วยการเรียนรู้ที่  8
มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก



          เนื้อเรื่องย่อ

กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร   มี ๑๙ พระคาถา
กล่าวถึงพระนางผุสดีจะต้องจุติจากสวรรค์ พระอินทร์จึงประทานพร ๑๐ ประการให้พระนางผุสดี ได้แก่ ๑)ขอให้เกิดในกรุงมัทราช แคว้นสีพี ๒)ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย ๓)ขอให้คิ้วคมขำดังสร้อยคอนกยูง ๔)ขอให้ได้นามตามภพเดิมว่าผุสดี  ๕)ขอให้มีพระโอรสที่เกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป ๖)ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนตามสตรีสามัญ ๗)ขอให้มีพระถันเปล่งปลังงดงามไม่ยานคล้อยลง ๘)ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ ๙)ขอให้มีผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ ๑๐)ขอให้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้

กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์   มี ๑๓๔ พระคาถา
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช  และได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพี ต่อมาได้ประสูติพระเวสสันดร ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้น  ให้มีนามว่าปัจจัยนาค มีคุณวิเศษคือ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พระเวสสันดรใฝ่ใจการบริจาคทาน จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้กับชาวเมืองกลิงคราษฏร์ ซึ่งเป็นเมืองแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพงมาหลายปี ทำให้ชาวเมืองสีพีโกรธและเรียกร้องให้พระเจ้ากรุง    สญชัยทรงลงโทษพระเวสสันดร พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมือง

กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์   มี ๒๐๙ พระคาถา
ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และ  กัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐

กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ มี ๕๗ พระคาถา
เมื่อเดินทางถึงนครเจตราช ทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนาศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราช จึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกต ได้พบศาลาอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์ กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรม               

กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก  มี ๗๙ พระคาถา
มีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานในเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย  แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมา  ทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อ มาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า              

กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน มี ๓๕ พระคาถา  
พรานเจตบุตรหลงกลชูชก ที่ได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตร อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร พรานเจตบุตรจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี      

กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล  มี ๘๐ พระคาถา
เมื่อถึงอาศรมฤๅษี  ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี  ชูชกใช้คารมหลอกล่อจุตฤๅษี พระฤาษีหลงเชื่อจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร

กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร  มี ๑๐๑ พระคาถา
ชูชกเข้าไปขอสองกุมาร พระเวสสันดรพระราชทานให้ สองกุมารรู้ความจึงหนีไปอยู่ในสระบัว พระเวสสันดรตามไปพูดจาให้สองกุมารเข้าใจ สองกุมารจึงขึ้นจากสระบัว ชูชกพาสองกุมารเดินทางโดย  เร่งรีบด้วยเกรงว่า หากพระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ก่อนจะเสียการ

กัณฑ์ที่   มัทรี  มี ๙๐ พระคาถา
พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัย ลืมตนว่าเป็นดาบส จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา     

กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ  มี ๔๓ พระคาถา  
พระอินทร์เกรงว่าหากมีใครมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร ก็จะทำให้พระเวสสันดรบำเพ็ญภาวนาไม่สะดวก ด้วยไม่มีผู้คอยปรนนิบัติ ดังนั้นพระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าลงมาขอและได้ให้พรแปดประการแก่พระเวสสันดร รวมทั้งยังฝากฝังพระนางมัทรีไว้ให้อยู่ปรนนิบัติพระเวสสันดรด้วย


กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช มี ๖๙ พระคาถา  
เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้ เหล่าเทวดาจึงแปลงร่าง   ลงมาปกป้องสองกุมาร  จนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะ เดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี

กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์    มี ๓๖ พระคาถา  
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก


กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์   มี ๔๘ พระคาถา  
หกกษัตริย์ยกพลกลับคืนพระนคร พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร  เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง
ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

          ประวัติผู้แต่ง


๑. เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์    ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคนที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ ๒, เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ ๒, นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวี  และครูพิณพาทย์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้นสกุลบุญ-หลง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ.๒๓๔๘        
พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก ๒ กัณฑ์ คือ มัทรี กุมาร

๒. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธ  ยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส   สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ รวมพระชนมายุ ๖๔ พรรษา
งานพระนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่ ตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ ลิลิตตะเลงพ่าย สมุทรโฆษ    คำฉันท์ ทรงนิพนธ์ต่อจากพระมหาราชครูและสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งค้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๑๑ กัณฑ์ เว้นกัณฑ์มหาพนและกัณฑ์มัทรี เพราะทรงเห็นว่าพระเทพโมลี (กลิ่น) และเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งกัณฑ์มัทรีไว้ดีแล้ว
พระราชนิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๕ กัณฑ์ คือ ทศพร หิมพานต์ มหาราช ฉกษัตริย์ นครกัณฑ์


๓. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์ เสด็จพระราชสมภพในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๑  เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓และเป็นลำดับที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ รวมพระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา 
พระราชนิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๓ กัณฑ์ คือ วนปเวสน์ จุลพน สักบรรพ

๔. พระเทพโมลี ( กลิ่น )

พระเทพโมลี (กลิ่น) เกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายรามัญ ท่านบรรพชา-อุปสมบทวัดตองปุ อยุธยา สมัยพระเจ้าเอกทัศน์เมื่อกรุงศรีอยุธยา ล่มสลาย ท่านพระมหาศรี พระขุน พระเทพโมลี ครั้งเป็นพระกลิ่น   หลบภัยข้าศึก ล่องลงมาทางใต้ ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านและคณะกลับมาอยู่วัดกลางนา (วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม) กรุงเทพฯ ต่อมาทราบข่าวพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ เป็นที่พระญาณ สังวรเถร ทั้งสามท่านจึงตามมาอยู่วัดพลับ เรียนขอเล่าเรียน  พระกรรมฐานมัชฌิมา พระมหากลิ่น และคณะ ทราบว่าพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ ทรงเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐาน ท่านและคณะซึ่งเป็นเชื้อสายรามัญ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการขออนุญาต พระมหา สุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางนา ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกายรามัญ เพื่อมาศึกษาพระกรรมฐานในสำนัก    พระญาณสังวรเถร (สุก)
นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ มหาพน

๕. สำนักวัดถนน

นายทองอยู่ เกิดที่บ้านไผ่จำศีล อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่ออายุ ๑๐-๑๑ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้ผ่านวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียกว่า วัดถนนจึงได้พักอยู่วัดนี้ ได้อุปสมบทเรื่อยมา ท่านทองนับว่าเป็นสถาปนิกชั้นเยี่ยม ท่านได้สร้างเจดีย์ที่งดงาม รวมถึงได้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทานกัณฑ์แล้ว ยังแต่งบททำขวัญนาคไว้อย่างไพเราะอีกด้วย
นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์

๖. สำนักวัดสังข์กระจาย

สำนักวัดสังข์กระจายเป็นชื่อสำนักที่ท่านผู้แต่งบวชอยู่ วัดนี้อยู่ริมคลองบางกอก เป็นวัดโบราณ ส่วนท่านผู้แต่งกัณฑ์ชูชกนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงนุภาพทรงสันนิษฐานว่า คือ  พระเทพมุนี (ด้วง) แต่ประวัติของท่านยังไม่เป็นที่แน่ชัด ในพ.ศ. ๒๓๓๒ คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขพระที่นั่งอินทราภิเศกมหาปราสาทติดเป็นเพลิงไหม้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระแสงของ้าวเร่งข้าราชการดับเพลิงจนสงบ แล้วทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอัปมงคลนิมิตแก่บ้านพระราชาคณะที่เป็นปราชญ์ ต่างได้ลงชื่อถวายชัยมงคล ซึ่งรายนามพระสงฆ์ที่ถวายพระพรครั้งนั้นมีพระเทพมุนีวัดสังข์กระจายด้วยรูปหนึ่ง นอกจากนี้ พระเทพมุนีรูปนี้ยังถวายเทศน์กัณฑ์ชูชกในรัชกาลที่ ทั้งยังเคยถวายแก้ข้อกังหาปัญหาธรรมและพระราชปุจฉาในรัชกาลที่ ๑ อีกด้วย

นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก ๑ กัณฑ์ คือ ชูชก




วิดีโอประกอบการเรียนการสอน
เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก





หน่วยการเรียนรู้ที่  7
มงคลสูตรคำฉันท์


         มงคลสูตรคำฉันท์  เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์ อ่านเพิ่มเติม




หน่วยการเรียนรู้ที่  6
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


         ทุกข์ของชาวนาในบทกวี   มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านเพิ่มเติม




หน่วยการเรียนรู้ที่  5
หัวใจชายหนุ่ม


       หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติเพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน  อ่านเพิ่มเติม





หน่วยการเรียนรู้ที่  4
นิราศนรินทร์คำโคลง


      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา อ่านเพิ่มเติม




หน่วยการเรียนรู้ที่  3
นิทานเวตาล เรื่องที่ 10


      นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
       ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน อ่านเพิ่มเติม





หน่วยการเรียนรู้ที่  2
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง


      อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ อ่านเพิ่มเติม